
ผลการศึกษาที่ Princeton และ New York University พบว่าคนที่มีอายุมากกว่า 65ปี มีโอกาสที่จะแชร์ข่าวปลอม หรือข้อมูลเท็จได้มากกว่าคนวัยอื่นๆ โดยยิ่งอายุมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะแชร์ข่าวปลอมได้มากเท่านั้น
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังพบอีกว่า การแชร์ข่าวปลอมเป็นเรื่องเกี่ยวกับอายุล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับระดับการศึกษา เพศ หรือแม้กระทั่งมุมมองทางการเมือง แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่ แต่ทีมวิจัยได้ตั้งไว้ 2 สมมติฐานด้วยกัน นั่นคือ

1. อาจเป็นไปได้ว่าคนรุ่นหลังเข้าถึงสื่อดิจิทัลช้ากว่าคนรุ่นใหม่ๆ ทำให้มี Digital Media Literacy คือความรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลน้อยกว่าคนรุ่นหลังๆ ซึ่งโตมาพร้อมกับสื่อดิจิตอล และเทคโนโลยีต่างๆ ฉะนั้นโอกาสการแชร์ข่าวปลอมจึงมากขึ้นหรือลดลงตามอายุ
2. อาจเป็นไปได้ว่ายิ่งอายุเยอะ Cognitive Function หรือกระบวนการทางความคิดในสมองนั้นเสื่อมถอยลง ทำให้ขาดการย้ำคิด ไตร่ตรองข้อมูลเนื้อหา ก่อนที่จะแชร์บนสื่อออนไลน์
ทั้งนี้ทั้งนั้น การศึกษาดังกล่าวได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบน Facebook อย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่ได้รวมถึงแพลทฟอร์มอื่นๆ หรือผู้ใช้ในบริบทอื่นๆ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ดี การรู้เท่าทันสื่อย่อมเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว ผลการศึกษานี้ยังเป็นประโยชน์ต่อแพลทฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ในการนำไปปรับใช้กับการนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสมกับช่วงวัย และช่วยให้ผู้ใช้เองเริ่มตระหนักถือข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน และคิดก่อนแชร์มากขึ้น
ที่มา: People older than 65 share the most fake news, a new study finds
เรียบเรียงโดย: ศตวรรษ คีรีวัน